Main

Music Technology EP.3 🏠 ไมโครโฟน ฉบับ Home Studio | Not That Bad

ปัญหาการใช้ไมโครโฟนบันทึกเสียง ทั้งเสียงแตก เสียงเบา เสียงแทรก เสียงสะท้อน อ.เจท - พัชรพล มงคลสิริสวัสดิ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับรายการ Not That Bad มีวิธีการแก้ปัญหามานำเสนอ เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น พร้อมคำแนะนำในการเลือกใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมกับงาน #NotThatBad #MusicTechnology #HomeStudio #MahidolMusicchannel #MUMS -------------------------- Mahidol Music Channel ช่อง YouTube | Mahidol Music Channel : https://www.youtube.com/mahidolmusic/ Facebook | https://www.facebook.com/mahidolmusic/ Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.music.mahidol.ac.th/th/

Mahidol Music Channel

1 year ago

Not That Bad วันนี้นะครับ เราจะมาเจอกับปัญหาที่เราพบกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับการใช้ไมโครโฟนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงแตก เสียงเบา เสียงแทรก เสียงสะท้อนต่าง ๆ นะครับ เดี๋ยวเราจะมาดูวิธีการแก้ปัญหากัน แต่ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับ ประเภทไมโครโฟนเบื้องต้นกันก่อน ว่ามีอะไรบ้าง [เสียงดนตรี] โดยปกติ เราก็เจอมาอยู่ 2 ประเภทนะครับ ก็คือไมค์ Dynamic กับ Condenser นะครับ ซึ่งเราจะแบ่งง่าย ๆ เลยก็คือ Dynamic เรามักจะเจอในห้องซ้อม หรือตามคอนเสิร์ต ก็คือ มันจะบันทึกเสียงได้ ไม่รับเสียงรอบข้างมากเกินไป แ
ล้วก็ค่อนข้างที่จะทนทานนะครับ ในขณะที่ไมค์ Condenser นี่ เราจะเจอในห้องสตูดิโอ เพราะว่ารับเสียงที่ละเอียดอ่อน แล้วก็ใสมาก สำหรับ Home Studio นะครับ ผมก็แนะนำว่า ควรจะใช้เป็นไมค์ลักษณะ Condenser ก็คือไมค์หน้าตาประมาณนี้นะครับ จะได้รับเสียงที่ใส เป็นธรรมชาติ แต่ว่าต้องระวัง เพราะว่าเสียงรบกวนจะเข้าง่าย เพราะเขาละเอียดอ่อนมาก ก็เลยไม่เหมาะกับการไปเล่นคอนเสิร์ต หรือว่าตามห้องซ้อมนั่นเอง สำหรับวันนี้ ผมมี 2 Set up มาที่เตรียมเอาไว้ ก็คือ Set up ที่ใช้ไมโครโฟน Condenser ต่อด้วยสาย XLR เสียบเข้าไปที่ A
udio Interface ของเรานะครับ ก็คือ นี่ คือช่องเสียบของไมโครโฟนนะครับ ปึ๊บ จากนั้นนี่ ก็ต้องเสียบสาย USB เข้าที่ Audio Interface เรา แล้วเสียบเข้าคอมพิวเตอร์เราครับ ก็จะมีช่องอย่างนี้เลย อันนั้นเหมือนพรินเตอร์เลยนะครับ สาย USB นี่ ใช้งานง่ายครับ ปึ๊บ โอเค ทีนี้ภายในโปรแกรมนี่ เราก็สามารถที่จะเซตได้นะครับ ว่าเราอยากจะใช้ไมโครโฟนตัวนี้ หรือผมอยากจะใช้ Set up ของไมโครโฟนอีกอันนึงก็คือ เป็น USB Microphone นะครับ ตัวนี้ก็เป็น USB Microphone ที่เสียบ USB เข้าไปเลยนะครับ ไม่ได้ผ่าน Audio Interface ก็จะสะ
ดวกกว่านะครับ เราสามารถเลือกได้ในซอฟต์แวร์นี่แหละ แอปพลิเคชันของเรา ถ้าผมไปที่ Preferences นะครับ ทุกโปรแกรมทำเพลงจะมีตรงนี้หมดนะครับ เราไปที่ Audio กัน มันเกี่ยวกับ Audio นะ และใน Input Device นี่ครับ วันนี้ผมจะมาใช้ตัวอย่างที่ ใช้งานง่าย ๆ ที่สุดเลย ก็คือ USB ใหม่ ก็คือเลือกตัวนี้เลยครับ โอเค ทีนี้...เสียงน่าจะเริ่มเข้าแล้วนะครับ สังเกตได้ว่ามีมิเตอร์ขึ้นแล้ว ในโปรแกรมของเรา แสดงว่าเสียงไมค์เราเข้าแล้วนะครับ ไมโครโฟนตัวนี้นะครับ จะมีลูกบิด ที่สามารถเลือกความดังเบาของ ความดังไมโครโฟนเราได้ ว่าเ
ราอยากจะบันทึกดังหรือเบาแค่ไหนนะครับ เหมือนกัน Interface ก็มีลูกบิด สำหรับปรับเกณฑ์ เขาเรียกนะครับ ปรับเกณฑ์ ก็คือความดัง Input ที่บันทึกเข้าไป เราสามารถบันทึกได้ ปัญหาที่จะเจอบ่อย ๆ ก็คือ บางคนเซตไว้เบาเกินไปครับ ก็คือได้เสียงที่เบามาก หรือบางคนหมุนมากเกินไป กลายเป็นเสียงที่ดังเกินไป ก็กลายเป็นเสียงแตก ใช้ไม่ได้นะครับ เดี๋ยวเราลองมากดบันทึกกันดูดีกว่า ว่ามันจะเป็นอย่างไร โอเค ผมเริ่มกดบันทึกในโปรแกรมของผมแล้วนะ การใช้ไมโครโฟนที่ถูกต้องนะครับ ระยะก็คือไม่เกิน 30 ซม. นะครับ ถ้ามันไกลเกิน เสียงมั
นจะเบา สังเกตได้เลย Wave Form ของมันเล็กมากเลย ถ้าผมเข้ามาใกล้ Wave Form มันก็จะใหญ่ขึ้น เห็นไหม ทีนี้มันมีลูกบิดที่ผมบอกนี่ ถ้าผมเซตไว้สุดเลย แล้วผมพูดใกล้เกินไป เสียงมันอาจจะใหญ่เกินไป Wave Form จะใหญ่เกินไป เสียงอาจจะแตกได้ ถ้าผมปรับไว้เบาเกินไป เสียงมันก็เบาเกินไป มันก็ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะฉะนั้น เราต้องดูให้ดีครับว่า Wave Form เรามันใหญ่เกินไปไหม แล้วเสียงมันแตกไหม ต้องทดลองบันทึกดูก่อน แล้วมาฟังกัน ก็จะเห็นได้นะครับว่า Wave Form ผมก็ถือว่า ไม่ใหญ่เกินไปนะครับ น่าจะใช้ได้เลย เดี๋ยวต้องลองฟั
งกันดู เอ้า ถ้าผมปรับไว้เบาเกินไป เสียงมันก็เบาเกินไป มันก็ใช้ไม่ได้นะครับ เห็นไหมครับ เสียงที่เราบันทึกเข้าไปเมื่อกี้ ก็จะได้ยินได้เลยนะครับว่า อันไหนเบาเกินไป ดังเกินไป เราสามารถเห็นภาพได้ด้วยว่ามันใหญ่ หรือเล็กนะ Wave Form ของเรา หลีกเลี่ยงการเสียงแตก หรือว่าเสียงเบาเกินไปนะครับ ต้องปรับความดังให้มันพอดี ใช้ตาดู Wave Form ว่ามันสูงหรือเปล่า หรือว่ามันเล็กเกินไปนะ โอเค หลังจากที่เราทดสอบกับ USB Microphone ไปแล้วนะครับ เดี๋ยวเรามาลองดูกับไมโครโฟน ที่ผ่าน Audio Interface บ้างนะครับ ว่ามันจะผลลัพ
ธ์เป็นอย่างไร อย่างแรกผมต้องเข้าไปใน Preferences ที่เดิมนะครับ เข้าไปเซต Audio ของเรา ให้ Input ของเรานี่ เป็นตัว Komplete Audio 6 ครับ เสร็จแล้วกด Apply นะครับ ถ้าไม่กดมันก็ไม่เปลี่ยนให้นะ Audio Interface ทุกตัวจะมีลูกบิด สำหรับปรับความดังของเสียงที่บันทึก ซึ่งอันนี้ก็มีอยู่ตรงนี้เลย ลูกบิดนะครับ เขาเรียกว่าน็อบนะ ก็จะเพิ่มความดังเบาได้ตรงนี้เลย เดี๋ยวผมจะปรับเล่นดูระหว่างบันทึกเลยครับ กดบันทึกทีนึง เอาไมค์มาเทสต์กัน test one, two, one, two Test one, two ผมจะเริ่มปรับเพิ่มความดัง Test one, two,
one, two one, two, one, two โอเค อันนี้ผมปรับความดังสุด สังเกตได้นะครับว่า Audio Wave ผมนี่... ใหญ่เกินขนาดไปแล้วนะ ผมต้องหยุดแล้วแหละ เห็นไหมครับว่าภาพนี่ มันโชว์เลยนะครับว่า เมื่อกี้มันดังเกินไปจนเสียงแตก แล้วช่วงแรกก็คือเบาเกินไปจนแทบไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้น ตอนเทสต์นี่ก็ดู Wave Form ให้ดี แล้วปรับเกณฑ์ให้พอดี ๆ ก็บางคนอาจจะสงสัยนะครับว่า เวลาเราเทสต์ไมค์ เราควรจะทำอย่างไรกันแน่ อย่างเมื่อกี้ที่ผมทำก็คือ ผมพูดว่า one, two, one, two คือวิธีการเทสต์ไมค์ที่ถูกต้องนะครับ คืออย่างแรกต้องห้ามนะครับ ห
้ามก็คือ คนชอบเข้าใจผิดว่า ไปเคาะ ๆ ไปทุบ ๆ มันนี่ คือมันจะทำให้ไมค์เสียหายได้นะครับ ปกติเขาไม่ทำกัน Sound engineer เขาจะใช้วิธีการ อาจจะเกานะครับ ซอฟต์ ๆ เกา ๆ ก็จะได้ยินว่าเสียงสัญญาณเข้าไหม หรือเวลาพูดว่า one, one, two, two อย่างนี้ เสียงคำว่า two จะมีเสียงเบส เสียงลำคอเราเยอะ เขาก็จะสามารถปรับโทนเสียงให้เราได้นะครับ พวก Sound Engineer เพราะฉะนั้น วิธีการที่ถูกต้องนะ เกานะครับ กับ one, two แค่นี้ก็เทสต์ได้แล้วครับ ปัญหาต่อมาที่เราเจอกันบ่อยนะครับ ก็คือเรื่องของเสียง Noise รบกวน ที่เข้ามาในไมโ
ครโฟนของเรานะครับ บางครั้งอาจจะเป็นเสียงเครื่องแอร์ เสียงพัดลม เสียงตู้เย็น เสียงอะไรก็ตามที่อยู่รอบข้างเรา อาจจะเข้ามารบกวนในสัญญาณเราได้ ซึ่งวิธีการง่าย ๆ นะครับ แนะนำว่า ปิดแอร์ ปิดพัดลม ในช่วงเวลาที่เราบันทึกเสียง เราต้องการเสียงที่คลีนที่สุด หรือว่าไม่มีเสียงรบกวนเลย ถ้าเสียง Noise มันเข้ามาจริง ๆ แล้วเรามีวิธีแก้ไหม ก็คือ มีนะครับ แต่ก็มีขอบเขตอยู่ บางอย่างแก้ได้ บางอย่างแก้ไม่ได้นะครับ เช่น ถ้าเกิดเสียงที่เป็นเสียงเหมือนแอร์ ที่เสียงเหมือนเสียงทุ้ม ๆ หน่อย บางทีเราอาจจะใช้ EQ ในการที่จะตั
ดเสียงย่านต่ำออกไปได้ หรือบางทีเรามีโปรแกรม ที่สำหรับลบ Noise โดยเฉพาะเลยนะครับ ที่สามารถช่วยได้ แต่อันนี้ก็จะต้อง ไปศึกษาเรียนรู้อีกขั้นตอนนึง ทิปสุดท้ายที่จะฝากให้นะครับ ก็คือเรื่องของ Pop filter ครับ ฟังก์ชันของมันง่าย ๆ เลยครับ มันสามารถนำมากันเสียง พ. หรือตัว P ของเราได้ Pop filter ถ้าเราไม่มีนี่ เวลาเราบันทึกเสียง บางทีเสียงลมมันจะเข้าไปในไมโครโฟน แล้วมันไม่สามารถแก้ได้นะครับ มันแก้ยากกว่าพวก Background Noise อีก เห็นไหมครับว่าปัญหาการใช้ไมโครโฟนนี่ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยนะครับ เราสามา
รถที่จะใช้เทคนิคง่าย ๆ ที่ผมแชร์วันนี้ไปลองฝึกใช้กันดู แล้วก็เราจะได้คุณภาพเสียง ที่ดีขึ้นนะครับทุกคน ไว้ลองกันดูนะครับ

Comments

@PrateepRuengsri7

ขอบคุณมากๆ ครับ กำลังหาข้อมูลอยู่พอดีเลย จังหวะเหมาะมากๆ